THE HAPPIEST CELEBRATIONS IN ASIA FROM COLOUR TO WATER FESTIVALS (PART 2)

STORY / Mar 21, 2022

THE HAPPIEST CELEBRATIONS IN ASIA FROM COLOUR TO WATER FESTIVALS (PART 2)

แม้เทศกาลสงกรานต์ในอุษาคเนย์จะถูกโยงว่ารบอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลีเพราะความคล้ายคลึง ในรูปแบบของการสาดสีสาดน้ำและเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล...

Songkran Festival เทศกาลสาดน้ำสงกรานต์อุษาคเนย์




แต่แท้จริงแล้วสงกรานต์ไม่ได้มาจากเทศกาลโฮลีซึ่งกำหนดวันตามระบบจันทรคติ ในขณะที่สงกรานต์กำหนดตามระบบสุริยคติ ถือเป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่ตามโหราศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ซึ่งมีเทศกาลปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติ สงกรานต์ปีใหม่ไทยเริ่มตั้งแต่ยุคสุโขทัย สมัยโบราณมีการใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักในการรดน้ำขอขมากันในระบบเครือญาติให้ชุ่มฉ่ำร่มเย็นหลังฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนจะนำไปผนวกเข้ากับประเพณีตามคติสงกรานต์ที่ได้รับมาจากอินเดียใต้ มีการสรงน้ำพระรดน้ำญาติผู้ใหญ่ ส่วนการสาดน้ำสงกรานต์เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นเมื่อร้อยปีกว่านี้เอง สงกรานต์ถือเป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ เราจะเห็นการฉลองสงกรานต์วันเริ่มศักราชปีใหม่การเล่นน้ำสาดน้ำในประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน


สงกรานต์หลวงพระบาง ลาว



จัดขึ้นในวันที่ 14 - 16 เมษายนของทุกปี โดยทั้ง 3 วัน จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปวันแรกเรียกว่า “วันสังขารล่วง” คือ วันทำความสะอาดบ้านเรือนเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปและรับสิ่งใหม่เข้ามา วันที่สองเรียกว่า “วันเนา” คือวันครอบครัวหรือวันรวมญาติเพื่อบายศรีสู่ขวัญผู้หลักผู้ใหญ่และวันสุดท้ายเรียกว่า “วันสังขารขึ้น” หรือวันขึ้นปีใหม่ชาวลาวจะไปเข้าร่วมขบวนแห่นางสังขาร (เทพีสงกรานต์) และทำพิธีสรงน้ำพระรดน้ำดำหัวเพื่อเป็นสิริมงคลกัน


เทศกาลตะจาน พม่า



เทศกาลตะจาน หรือธินจัน เป็นวัฒนธรรมของชาวพม่าแต่โบราณที่สืบทอดกันมาไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี โดยเป็นเทศกาลเล่นสาดน้ำและยังเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลอีกด้วย โดยทั่วไปชาวพม่าจะเริ่มเล่นน้ำกันตั้งแต่วันที่ 12 - 16 เมษายน และทำพิธีมงคลขึ้นปีใหม่ในวันที่ 17 เมษายน


Do You Know: คำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษา สันสกฤตแปลว่า “ก้าวย่าง” ในวัฒนธรรมอินเดีย หมายถึงการเปลี่ยนผ่านเวลาในรอบปีจากราศีหนึ่งสู่อีกราศี ฉะนั้นหนึ่งปีจะมีสงกรานต์ 12 ครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญสุดคือเมื่อดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ถือเป็นการขึ้นปีใหม่ตามคติฮินดููที่นับวันตามสุริยคติ มีชื่อเรียกพิเศษว่า “มหาสงกรานต์”


เทศกาลโจลชนัมทเมย กัมพููชา

โจลชนัมทเมย หรือเทศกาลสงกรานต์ของกัมพููชา จัดขึ้นในวันที่ 13 - 15 หรือ 14 - 16 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นเทศกาลสงกรานต์ที่มีความคล้ายกับสงกรานต์ไทยมากที่สุด เพราะมีทั้งการทำบุญตักบาตร ขนทรายเข้าวัดก่อเจดีย์ทราย สรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่รวมถึงการเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุุกสนาน ไปทั่วทั้งเมืองอีกด้วย


เทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย สิบสองปันนา จีน




สงกรานต์ของชาวไต หรือชาวไทในสิบสองปันนามณฑลยููนนาน ทางใต้ของจีน จัดขึ้นในวันที่ 13 – 15 เมษายนของทุุกปี โดยจะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองต่าง ๆ หลากหลายวิธี เช่น การแข่งขันเรือมังกร การโชว์ระบำนกยูง พิธีรดน้ำดำหัวให้กันและกันและจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่ไหนคือการเล่นน้ำที่ชาวสิบสองปันนาจะมายืนล้อมวงรวมตัวกันในบ่อน้ำขนาดใหญ่ในแต่ละหมู่บ้านแล้วตักน้ำในบ่อน้ำสาดเล่นกันอย่างสนุุกสนานโดยเชื่อว่าจะเป็นการชะล้างสิ่งไม่ดีออกไป


ปรึกษาข้อมููลการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่ KTC WORLD TRAVEL SERVICE 

โทร. 02 123 5050 บริการ 24 ชม. ทุกวันไม่เว้นวันหยุด


TAG : songkran เทศกาลสงกรานต์ โจลชนัมทเมย พัวสุ่ยเจี๋ย เทศกาลตะจาน

travel THE HAPPIEST CELEBRATIONS IN ASIA FROM COLOUR TO WATER FESTIVALS (PART 2)

Traveller Man

นักเที่ยวตัวฉกาจ | Story: 25 | COMMENT: 265 | LIKE: 560

"ท่องเที่ยวไปใน ทุกที่"

Comment


กรุณาเข้าสู่ระบบก่อน เพื่อแสดงความคิดเห็น